ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

       "เทคโนโลยีสารสนเทศ"(Information Technology) เรียกสั้นๆ ว่า"ไอที"(IT)
1"เทคโนโลยี"(Technology) มีความหมายค่อนข้างกว้างโดยทั่วไป หมายถึงสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่างๆ เป็นต้น
2"สารสนเทศ"(Information) หมายถึงข่าวสารที่ได้จากข้อมุลดิบ (Raw data) จากแหล่งต่างๆ นำมาคำนวณทางสถิติหรือผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเรียกว่า "สารสนเทศ" ข้อมูลที่ได้ออกมาจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
3"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยมีขั้นตอนต่างๆ
       "เทคโนโลยีสารสนเทศ"ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีหลักที่สำคัญ 2 สาขา คือ เทคโนโลยีคอมพิงเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการแสวงหาการจัดเก็บ
และการเผยแพร่แลกเปลี่ยนสารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ตัวเลข ภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว ให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ดังรายละเอียดดังนี้
สาขา 1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลตลอดจนการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามความต้องการ
สาขา 2 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ช่วยทำให้การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้ปัจจุบันเปลี่ยนจากสังคมยุคเกษตรกรรมได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมและยุคข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถติดต่อสื่อสารกันทั่วโลกได้แบบไร้ขีดจำกัด หรือไร้พรมแดน ที่มักเรียกกันว่า “ยุคโลกาภิวัตน์” (globalization) อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ยังมีผลกระทบตามมาทั้งด้านลบและด้านบวก เช่น ข่าวเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลทางการค้า การดักฟังทางโทรศัพท์ หรือการสร้างข่าวสารทำให้ผู้อื่นเสียหาย เป็นต้น
       ในปัจจุบันประเทศไทยมีกระทรวงที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวง ไอซีที (ministry of Information and Communication Technology) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลเทคโนโลยี เพื่อจัดระเบียบและบริหารจัดการ องค์การที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานกับปนะชาชน เว็บไซต์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

       ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอันมาก อาทิ
1.เทคโนโลยีช่วยเสริมปัจจัยพื้นฐาน เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
2.เทคโนโลยีช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น เช่น สร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นต้น
3.เทคโนโลยีช่วยทำให้การผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น เช่น การดูสินค้าหรือราคา การสั่งชื้อสินค้าทางโทรศัพท์ หรือทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4.เทคโนโลยีช่วยทำให้ระบบการผลิต สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมาก มีราคาถูกลง และ ได้สินค้าที่มีคุณภาพ
5.เทคโนโลยีช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วการสื่อสารที่เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงทำให้ประชากรโลกสามารถติดต่อสื่อสารและรับฟังข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกได้ตลอดเวลา

องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

       ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาคือ เทคโนดลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีรายละเอียดแต่ละเทคโนโลยีดังต่อไปนี้
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
       คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตาวคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า “ฮาร์ดแวร์” (Hardware) และฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรืเรียกว่า”ซอฟต์แวร์”(Software)
ฮาร์ดแวร์(Hardware) ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
       1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) จอภาพสัมผัส (Touch Screen) ปากกาแสง (Light Pen) เครื่องอ่านแถบบัตรแม่เหล็ก(Magnetic Strip Reader) และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode Reader)
       2.อุปกรณ์แสดงผล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เทอร์มินัล       3.หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะประมวลผลโดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งคอมพิวเตอร์       4.หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณและผลลัพธ์ของการคำนวรก่อนที่จะนำไปยังอุปกรณ์แสดงผลซอฟต์แวร์(software)       ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์และเป้นตัวกลางระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์รบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น
       - โปรแกรมระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIS)       -โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (DOS)       -โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows XP
2) โปรแกรมอรรถประโยชน์
       ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น WinZip ใช้บีบอัดไฟล์ Anti virus ใช้สแกนและฆ่าไวรัส เป็นต้น
3) โปรแกรมแปลภาษา
       เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ       1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทธุรกิจ ตัวอย่างเช่น Microsoft Word , Adobe Photoshop เป็นต้น       2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เช่น โปรแกรมบัญชี เป็นต้น       3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงและอื่นๆ เช่น โปรแกรม Hypertext เป็นต้น
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
       เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูลไกลๆ เป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งรูปแบบข้อมูลที่รับอาจส่งเป็น ตัวเลข (Numeric data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ คือ       1. เทคโนโลยีใช้เก็บข้อมูล       2. เทคโนโลยีใช้ในการบันทึกข้อมูล       3. เทคโนโลยีใช้ในการประมวลผลข้อมูล       4. เทคโนโลยีใช้ในการแสดงผลข้อมูล       5. เทคโนโลยีใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร       6. เทคโนโลยีใช้ในการถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

       เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาให้มีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวอย่างประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
1. ช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ช่วยจัดระบบสารสนเทศที่มีอยู่มากมายให้มีระเบียบ
3. ช่วยทำให้การสื่อสารมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
4. เทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างเป็นอัตโนมัติ
5. ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้
6. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ
7. ช่วยลดบุคลากรในการประมวลผลและผลิตสารสนเทศ
8. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันคือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจ ด้านการสื่อสาร ด้ารการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือผ่านอินเทอร์เน็ตโดยเน้นด้านการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การใช้เทคโนโลยีภายใต้สำนักงานอัตโนมัติ เพื่อลดการสูญเสียทัพยากรให้น้อยลงและก่อให้เกิดสภาพสำนักงานไร้กระดาษ อีกทั้งข้อมูลที่ได้รับจะช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานของบุคลากรได้ โดยนำเทคโนโลยีที่นิยมมาใช้ในปัจจุบัน เช่น
       1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
       1.2 เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database)       1.3 เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)       1.4 เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ (Product Settlement)       1.5 เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล (Data Security)       1.6 เทคโนโลยีด้านการทำดิจิทัลให้เหมาะสมที่สุด (Digital Optimization)       1.7 เทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology)       1.8 เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน (Virtual Office)       1.9 เทคโนโลยีระบบการประยุกต์ด้านการสื่อสาร (Messaging Application)
2.แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ผู้บริหารขององค์กรควรคำนึงถึงการเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะนำมาใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
       2.1ชิป ปัจจุบันได้รับการผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์
       2.2หน่วยเก็บ การปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยเก็บควบคู่ไปกับความเร็วในการประมวณผลของชิป
       2.3สภาพเเวดล้อมเชิงออบเจกต์เป็นนวัตกรรมใหม่ในส่วนการเขียนโปรเเกรมเเละการใช้คอมพิวเตอร์
       2.4เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง
       2.5คอมพิวเตอร์เเบบควอนตัมมีการศึกษาค้นคว้าซึ่งนำไปสู่การผลิตหน่วยคำนวณที่เล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า"บิท"
       2.6นาโนเทคโนโลยี ในอนาคตอาจมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบจากโมเลกุลที่มีความเร็วสูงสุข

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

1.ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลา จึงต้องเอาเทคโนโลยีระบบสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ควบคุมระบบปรับอากาศ
2.ช่วยทำให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศที่กระจายไปกระจายทั่วไปทั่วทุกแห่งทำให้ทุกคนสนใจ มีโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน เช่น ระบบการเรียนการสอนการสอนทางไกล
3.ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในโรงเรียน ระบคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายการศึกษาต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายของกระทรวงศึกษาธิการ
4.ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ป่า เขา แม่น้ำ
5.ประโยชน์ต่อการป้องกันประเทศ อาวุธที่ใช้ทางการทหารยุคใหม่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เช่น จรวดที่สามารถวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้อย่างอัตโนมัติ
6.ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมปละพณิชยกรรม การผลิตสินค้าและการจำหน่ายสินค้ามีการแข่งขันกันในตลาดโลกอย่างมาก